ทางเข้า เว็บตรง
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
คัดเค้า ไม้พุ่ม รอเลื้อย มักนิยมปลูกเป็นแนวรั้ว ช่วยกันขโมยได้ เพราะมีหนามแหลม พันธุ์ไม้ชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใดจึงควรนำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้าน เราจะมาแนะนำข้อมูล ให้รู้จักเพิ่มเติมกันอีกสักหน่อย ว่าต้นคัดเค้านี้มีอะไรน่าสนใจอีกบ้าง
ชื่อ: คัดเค้า
ชื่อสามัญ: Siamese randia
ชื่อวิทยาศาสตร์: Randia siamensis Craib.
ชื่ออื่นๆ: จีเก๊า, จีเค้า,โยทะกา, หนามลิดเค้า (เชียงใหม่), จีเค๊า, พญาเท้าเอว (กาญจนบุรี), คัดเค้าหนาม (ชัยภูมิ), คัดเค้าเครือ (นครราชสีมา), เค็ดเค้า (ภาคเหนือ), คัดเค้า คันเค่า (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), คัดเค้า คัดค้าว (ภาคกลาง), เขี้ยวกระจับ (ภาคใต้, ภาคตะวันตกเฉียงใต้), จี้เค้า, หนามเล็บแมว เป็นต้น
วงศ์: RUBIACEAE (วงศ์เข็ม)
ถิ่นกำเนิด: ประเทศไทย และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่มา: คัดเค้า สรรพคุณและประโยชน์ของต้นคัดเค้าเครือ 30 ข้อ ! [1] medthai
คัดเค้า จัดเป็นพรรณไม้เถา เนื้อเหนียวแข็ง หรือไม้พุ่มรอเลื้อย มีความโดยประมาณ 3 – 6 m.
ขยายพันธุ์: โดยวิธีการเพาะเมล็ด ปักชำ และการตอนกิ่ง วิธีที่นิยม: คือการเพาะเมล็ด เพราะงอกได้ง่าย และต้นกล้าที่ได้จาการเพาะเมล็ด จะมีความแข็งแรง และเจริญเติบโตได้เร็ว
การปลูก: นำต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด มาปลูกลงดิน โดยให้ขุดหลุม กว้างลึกประมาณ
1×1 ฟุต แล้ววางต้นกล้า พร้อมกับดินที่ติดมากับต้นกล้าทั้งหมด ลงหปลูก แล้วกลบดินปากหลุมให้แน่น รดน้ำ
พอชุ่มประมาณ 1 สัปดาห์ ต้นกล้าก็จะอยู่ตัว
ประโยชน์:
– นิยมปลูกไว้เป็นแนวรั้ว กันขโมยเพราะมีหนามแหลมคม
– นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้กระถาง เพราะในปัจจุบัน มีพันธุ์เตี้ยที่สูงเพียงแค่ 50 cm.เพื่อความสวยงาม และยังส่งกลิ่นหอมอีกด้วย
– ใช้ประโยชน์เป็นยาสมุนไพร ช่วยรักษาโรคได้เช่น ใช้แก้ไข้ แก้ไอ ขับเลือด เลือดออกตามไรฟัน เป็นต้น
– สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานได้ เช่นใช้รับประทานแกล้มลาบ สามารถนำมารับประทานได้ทั้งสด หรือนำไปลวก
ข้อควรระวัง:
– เนื่องจากหลายๆ ส่วนของคัดเค้าช่วยฟอกโลหิต และช่วยขับประจำเดือน ดังนั้นสตรีมีครรภ์ จึงไม่ควรใช้คัดเค้าเป็นสมุนไพร
– ในการใช้คัดเค้าเป็นสมุนไพร ในการรักษาโรคต่างๆ ควรใช้อย่างระมัดระวังเช่นเดียวกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ ไม่ควรใช้มากเกินไปเพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพ ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ
– มีสารจำพวกไตรเทอร์ปีนซาโปนิน ที่มีฤทธิ์เป็นยาเบื่อปลา
การดูแล:
ที่มา: คัดเค้า [2]
ที่มา: สรรพคุณคัดเค้า [3]
สรุป คัดเค้า ต้นไม้ที่แนะนำให้ปลูกตามทิศทางลม เนื่องจากทิศเหนือนั้น เมื่อเข้าสูหน้าหนาวดอกของคัดเค้าจะมีกลิ่นหอม ปลูกเลี้ยงง่าย ทนทาน หากปลูกเป็นกลุ่ม ควรให้แต่ละต้นอยู่ห่างกันสองเมตร กิ่งแห้ง หรือเป็นโรคออกจะช่วยให้ทรงพุ่มโปร่งสวยงาม
[1] medthai. (February 16, 2020). คัดเค้า สรรพคุณและประโยชน์ของต้นคัดเค้าเครือ 30 ข้อ. Retrieved from medthai
[2] maipradabonline. (April 19, 2023). คัดเค้า. Retrieved from maipradabonline
[3] samunpri. (2024). สรรพคุณคัดเค้า. Retrieved from samunpri
LONPAO Official © 2023 All Rights Reserved.