ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

ภัยพิบัติ คลื่นสึนามิ คลื่นมหึมาคร่าสิ่งมีชีวิตนับพัน

คลื่นสึนามิ

คลื่นสึนามิ คลื่นจากใต้ท้องทะเลขนาดใหญ่ ภัยธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงได้ยาก จุดเริ่มต้นของความหายนะบริเวณชายฝั่งทะเล ภัยที่คร่าสิ่งมีชีวิตมานับไม่ถ้วน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีสาเหตุมาจากอะไร สร้างความเสียหายขนาดไหน และมาตรการป้องกันอย่างไรบ้าง

แหล่งกำเนิดและสาเหตุ คลื่นสึนามิ

คลื่นสึนามิ (Tsunami) คลื่นลูกใหญ่ที่พัดเข้าหาชายฝั่งอย่างรุนแรง เกิดจากแหล่งน้ำที่มีการเคลื่อนย้ายมวลน้ำปริมาณมาก จะเกิดขึ้นในมหาสมุทร หรือทะเลสาบขนาดใหญ่ และสามารถเกิดขึ้นได้จาก แผ่นดินสั่นไหว ภูเขาไฟระเบิดลาวา การระเบิดใต้น้ำ และธารน้ำแข็งแตก [1]

ทำไมถึงเรียกว่า สึนามิ

สึนามิมาจากภาษาญี่ปุ่น แปลว่า Harbour Wave ตามประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีการเกิดสึนามิยาวนานมากที่สุด เกิดความเสียหายจากแผ่นดินไหวใน มหาสมุทรอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2547 เหตุการณ์คลื่นรุนแรงที่สุด โดยคร่าชีวิตของผู้คนไปมากกว่า 230,000 คน นับว่าเป็น ภัยพิบัติธรรมชาติ ที่รุนแรงอย่างมาก

สึนามิ VS คลื่นยักษ์ แตกต่างกันอย่างไร?

การเกิดของคลื่นสึนามิ จะมีแผ่นดินไหวอยู่ใต้ทะเล พลังงานถูกส่งไปยังผิวน้ำ ทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ โดยมีความเร็วคลื่นสูง 1,000 กิโลเมตร / ชั่วโมง และมีความยาวคลื่น อีกหลายร้อยกิโลเมตรภายใต้ทะเลลึก แต่เมื่อเคลื่อนที่เข้าใกล้กับชายฝั่ง ความเร็วและความยาวคลื่นจะลดลง จึงส่งผลให้คลื่นรวมตัวกันสูงเพิ่มมากขึ้น

การเกิดของคลื่นยักษ์ หรือคลื่นทะเลทั่วไป ลมทะเลจะพัดผิวน้ำก่อตัวให้เกิดเป็นคลื่น โดยคลื่นทะเลจะมีความเร็วคลื่นสูงได้มาก 90 กิโลเมตร / ชั่วโมง และมีความยาวคลื่นประมาณ 100 – 200 เมตร หากคลื่นเคลื่อนตัวเข้าหาชายฝั่ง คลื่นจะมีความสูงเพิ่มขึ้น แต่สูงไม่มาก เพราะว่าคลื่นมีพลังงานต่ำ [2]

คลื่นสึนามิ ภัยการสูญเสียทั่วโลก

คลื่นสึนามิ

หลายพื้นที่ทั่วโลก ต่างเคยได้รับผลกระทบจากสึนามิ โดยหนึ่งในความสูญเสียที่ร้ายแรงที่สุด เกิดขึ้นที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีผลกระทบเป็นวงกว้างไปยังประเทศใกล้เคียง ทั้งประเทศญี่ปุ่น ประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย และประเทศไทย ความสูญเสียที่กลืนหายภายในพริบตา

ผลกระทบและการป้องกัน

ผลกระทบแบบวงกว้าง จากการเกิดเหตุการณ์สึนามิ ทั้งอาคารบ้านเรือนถูกทำลาย สภาพแวดล้อมการดำรงชีวิตได้รับความเสียหาย มีผู้เสียชีวิตหรือสูญหายจำนวนมาก เกิดการพลัดถิ่น แผ่นเปลือกโลกขยับ และสภาพแวดล้อมชายฝั่งถูกทำลาย ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างนานในการฟื้นฟู [3]

มาตรการป้องกันภัย หากอยู่บริเวณชายฝั่งควรอพยพไปยังพื้นที่สูง อย่างเช่น ตึกอาคารสูง ต้นไม้สูง หากบ้านเรือนอยู่ใกล้ชายหาดควรทำเขื่อนลดแรงปะทะ เตรียมตัวอพยพ ยึดสิ่งที่มั่นคงแข็งแรง หากกำลังลอยน้ำให้หาสิ่งที่ลอยได้เกาะให้แน่น และติดตามข่าวสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ตอบคำถามยอดนิยมของ คลื่นสึนามิ

  • สึนามิเกิดขึ้นครั้งแรกที่ไหน : คลื่นสึนามิครั้งแรกของโลก เกิดในช่วงยุคสำริด (The Late Bronz Age) ประมาณ 3,600 ปีก่อน ณ เกาะซานโตรินี ประเทศกรีซ สาเหตุจากภูเขาไฟระเบิดอย่างรุนแรง ทำให้พื้นที่เกาะบางส่วน ถูกทำลายจนหายไป และคลื่นซัดเข้าหาชายฝั่ง
  • เหตุการณ์สึนามิในไทยปี 2547 เกิดจากสาเหตุใด : เกิดจากแผ่นดินไหว ที่มีจุดศูนย์กลางบริเวณเกาะสุมาตรา ส่งผลกระทบร้ายแรงกับ 6 จังหวัดภาคใต้ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 5,309 ราย ผู้ได้รับบาดเจ็บ 8,457 ราย และผู้หายสาบสูญ 3,370 ราย
  • สึนามิในไทยครั้งใหญ่คลื่นสูงกี่เมตร : เหตุการณ์สึนามิครั้งใหญ่ในประเทศไทย มีความสูงของคลื่นแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน คือ เขาหลัก จังหวัดพังงา 6 – 10 เมตร, ตามแนวชายฝั่งตะวันตก ทะเลอันดามัน จังหวัดภูเก็ต 3 – 6 เมตร และ ตามแนวชายฝั่งใต้ ทะเลอันดามัน จังหวัดภูเก็ต 3 เมตร
  • สึนามิส่งผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตอย่างไร : หลังจากการเกิดสึนามิ สร้างความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐาน สภาพแวดล้อม อาหารปนเปื้อน และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้าย และแพร่กระจายง่าย
  • จะรู้ได้อย่างไรว่าสึนามิกำลังมา : สังเกตสัญญาณเตือนจากธรรมชาติ อย่างเช่น เกิดแผ่นดินไหวหรือพื้นดินสั่นสะเทือนรุนแรง สัตว์มีพฤติกรรมแปลก หรืออพยพจำนวนมาก และน้ำทะเลลดลงอย่างฉับพลัน จนมองเห็นหาดทรายลึกชัดเจน

สรุป คลื่นสึนามิ “Tsunami”

คลื่นสึนามิ คลื่นขนาดใหญ่หลายระลอก จากใต้ท้องทะเลหรือมหาสมุทร ต้นเหตุจากการเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด หรือการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ส่งผลต่อความเสียหายของสิ่งมีชีวิต บ้านเรือน และสภาพแวดล้อมแบบวงกว้าง เป็นภัยธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่สามารถป้องกันและเอาตัวรอดได้

อ้างอิง

[1] wikipedia. (December 9, 2024). Tsunami. Retrieved from wikipedia

[2] edugen. (November 8, 2023). สึนามิ VS คลื่นทะเล ต่างกันอย่างไร?. Retrieved from edugentutor

[3] unhcr. (2024). สึนามิ ภัยพิบัติที่ทำให้เกิดโศกนาฏกรรม และการพลัดถิ่น. Retrieved from unhcr