ทางเข้า เว็บตรง
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
คลื่นความร้อน สภาพอากาศร้อนมาก ๆ อย่างฉับพลัน ที่เกิดขึ้นเป็นเวลานาน แม้ว่าประเทศไทยเราจะร้อนสักแค่ไหน แต่ก็ไม่เทียบเท่ากับทางยุโรป หรือทางแอฟริกา ออสเตรเลีย ที่สามารถเกิดภาวะคลื่นความร้อนได้ค่อนข้างบ่อย ทั้งยังส่งผลกระทบอันตราย ที่อาจคาดไม่ถึงตามมา
คลื่นความร้อน (Heat Wave) หรือความร้อนจัด เป็นช่วงที่มีสภาพอากาศร้อนมากกว่าปกติอย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 5 วัน โดยมีอุณหภูมิสูงสุดประจำวัน เกินค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในพื้นที่นั้น ประมาณ 5 องศาเซลเซียส ซึ่งเกิดจากบริเวณความกดอากาศสูง ภายในชั้นบรรยากาศที่มีกำลังแรงขึ้น และคงอยู่เหนือบริเวณนั้น เป็นเวลานานหลายวัน หรืออาจนานหลายสัปดาห์ [1]
การเกิดคลื่นความร้อน เกิดจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูง ในระดับความสูง 3,000 – 7,600 เมตร โดยจะทวีคูณความรุนแรงมากขึ้น และยังคงอยู่เหนือพื้นดังกล่าวเป็นเวลานาน มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน ทางฝั่งซีกโลกใต้และทางฝั่งซีกโลกเหนือ เพราะว่ามีกระแสลมกรด พัดตาม ดวงอาทิตย์
รูปแบบของสภาพอากาศทั่วไป ฤดูหนาวจะเปลี่ยนแปลงช้ากว่าฤดูร้อน ดังนั้นความกดอากาศสูงระดับบน จึงมีการเคลื่อนตัวช้าด้วยเช่นกัน มีผลให้อากาศทรุดตัวหรือจมลง ทำให้มีสภาพอากาศที่อบอุ่นขึ้น และเกิดคลื่นความร้อนบริเวณชายฝั่งอีกด้วย
อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกจากคลื่นความร้อน หนึ่งในการเกิด ภัยพิบัติธรรมชาติ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งหมด 2 รูปแบบ ดังต่อไปนี้
ที่มา: คลื่นความร้อนภัยร้อนแสนอันตราย [2]
หลายคนมักพูดว่า ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ร้อนจนทอดไข่ให้สุกได้! ซึ่งความเป็นจริงแล้วประเทศไทย ไม่ใช่ประเทศที่มีอากาศร้อนที่สุด เพราะไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณมวลอากาศร้อน และไม่มีทะเลทราย ดังนั้นโอกาสเกิดขึ้นนั้นเป็นไปได้น้อยมาก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคต
จากอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างฉับพลัน แน่นอนว่าก่อให้เกิดความเสียหาย และการสูญเสียต่อร่างกายมนุษย์ ทั้งผื่นคันจากความร้อน ตะคริวจากความร้อน โรคลมแดด (Heat Stroke) อาการเพลียแดด หน้ามืดหรือวิงเวียนศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ ร่างกายขาดน้ำ หัวใจวาย และมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต
สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง ได้รับอันตรายจากคลื่นความร้อน คือ ผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว อย่างเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีภาวะอ้วน และผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ [3]
นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม อย่างธารน้ำแข็งละลาย อุณหภูมิน้ำในทะเลสาบเขตหนาวสูงขึ้น (ทำให้ปลาเขตหนาวเกิดภาวะหายใจไม่ออก) พืชผักไม่เจริญเติบโต สาหร่ายเป็นพิษใน ทะเลบอลติก และสภาพดินแห้งแล้ง ทำให้ต้นไม้ขาดแคลนน้ำ
คลื่นความร้อน ภาวะอุณหภูมิสูงขึ้นผิดปกติอย่างรวดเร็ว โดยมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในพื้นที่เกินกว่า 5 °C ติดต่อกันอย่างน้อย 5 วัน หรือนานหลายสัปดาห์ เกิดจากบริเวณความกดอากาศสูง ที่มีโอกาสน้อยที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย ล้วนส่งผลเสียต่อร่างกาย การเกษตร และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
[1] wikipedia. (December 20, 2024). Heat wave. Retrieved from wikipedia
[2] scimath. (April 19, 2022). คลื่นความร้อนภัยร้อนแสนอันตราย. Retrieved from scimath
[3] กรมควบคุมมลพิษ. (May 14, 2024). คลื่นความร้อนภัยจากวิกฤติภูมิอากาศที่อันตรายถึงชีวิต. Retrieved from epo14.pcd.go.th
LONPAO Official © 2023 All Rights Reserved.