ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

ข้าวหลามดง พรรณไม้ดอกหอมอีกชนิดหนึ่ง ในวงศ์กระดังงา

ข้าวหลามดง

ข้าวหลามดง หรือที่รู้จักในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Goniothalamus laoticus เป็นพืชในวงศ์กระดังงา เป็นไม้ต้นผลัดใบที่ทนแล้งได้ มีดอกอ่อนสีเขียว เมื่อบานเปลี่ยนเป็นสีเหลืองนวล หรือสีชมพู และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ มาทำความรู้จักกับพันธุ์ไม้อีกชนิดหนึ่ง ที่น่าสนใจ ในวงศ์กระดังงากัน

แนะนำข้อมูล ต้นข้าวหลามดง

ชื่อ: ต้นข้าวหลามดง
ชื่อสามัญ: Laos Goniothalamus.
ชื่อวิทยาศาสตร์: Goniothalamus laoticus (Finet & Gagnep.) Ban
ชื่ออื่นๆ: จำปีหิน (ชุมพร) นมงัว (ปราจีนบุรี) ปอขี้แฮด (เชียงใหม่)
วงศ์: ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด: ประเทศไทย

ที่มา: ข้าวหลามดง_ [1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นข้าวหลามดง

ต้นข้าวหลามดง เป็นไม้ต้นผลัดใบ ลักษณะพุ่มกลมโปร่ง ความสูงประมาณ 4 – 8 m.

  • ลำต้น: มีเปลือกหนา สีเทาอมดำ
  • ใบ: ใบเดี่ยวเรียงสลับระนาบเดียว รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ กว้าง 3 – 4 cm. ยาว 10 – 16 cm. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม ใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน
  • ดอก: ออกดอกเดี่ยว หรือออกเป็นช่อกระจุก 1 – 5 ดอกตามลำต้น, กิ่งแก่ หรือออกตามซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ดอกอ่อนสีเขียว เมื่อบานเปลี่ยนเป็นสีเหลืองนวลหรือสีชมพู กลีบเลี้ยงหนา กลีบดอกรูปไข่เรียงเป็นสองชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบหนาแข็งและบิดเป็นคลื่น ก้านดอกยาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
  • ผล: ออกผลเป็นกลุ่ม ก้านช่อผลยาว มีผลย่อย 6 – 12 ผล ผลกลมรูปรี หรือทรงกระบอก เมื่อแก่สีเขียวอมเหลือง แต่ละผลมี 2 – 4 เมล็ด
  • ช่วงเวลาออกดอก: เดือนเมษายน – กรกฎาคม

ที่มา: ข้าวหลามดง_ [2]

การขยายพันธุ์ และการปลูกต้นข้าวหลามดง

  • ขยายพันธุ์: โดยการเพาะเมล็ด
  • การปลูก: ใช้พื้นที่ปลูกไม่มาก ประมาณ 2 x 2 m. ก็เพียงพอ ปลูกในดินร่วนระบายน้ำดี ต้องการน้ำปานกลาง ค่อนข้างทนแล้ง ควรปลูกในพื้นที่มีแดดรำไร ในปีแรกที่ปลูกนั้น อาจต้องดูแลเป็นพิเศษ และถ้าหากต้องการปลูกเพื่อให้ติดเมล็ดนั้น ต้องปลูกในพื้นที่มีแดดรำไร

ที่มาของ ชื่อข้าวหลามดง

สำหรับใครที่สงสัย ว่าทำไมต้องใช้ชื่อว่า”ต้นข้าวหลามดง” ที่มาของชื่อ ก็มาจากกลิ่นของลำต้น หรือกิ่งเมื่อถูกเผาไฟจะมีกลิ่นไหม้ คล้ายๆ กับกลิ่นหอมของ กระบอกข้าวหลามี่เผาสุกใหม่ๆ คำว่า “ดง” นั้นสื่อว่า เป็นต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามดงพงป่า จึงกลายเป็นต้น”ข้าวหลามดง”เพื่อให้แตกต่างจากต้น”ข้าวหลาม”(ข้าวหมาก) ที่อยู่สกุลเดียวกัน แต่ขึ้นในพื้นที่สภาพแวดล้อมที่ต่างกัน [3]

ข้อมูลเพิ่มเติม

สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกต้นข้าวหลามดงมีดังนี้

  • สามารถปลูกต้นข้าวหลามดง ไว้ทิศใต้ของตัวบ้าน เพราะการปลูกไม้ดอกหอมที่ออกดอกในช่วงฤดูฝนนั้น เพื่อให้ลมช่วยพัดพากลิ่นหอม โชยเข้ามาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ได้ เช่นเดียวกันกับ ต้นแก้ว
  • ช่วงการออกดอก ดอกจะค่อยๆ ทยอยบาน นานเป็นเดือนๆ
  • เป็นพันธุ์ไม้ที่เหมาะ จะปลูกแทรกระหว่างไม้ใหญ่ๆ
  • เป็นพันธุ์ไม้ที่ราคาค่อนข้างแพงตลอดเวลา เพราะเป็นพันธุ์ไม้หอมที่โตช้า การขยายพันธุ์ช้า ดังนั้นจึงควรปลูกตามจำนวน ที่ต้องการปลูกจริง
  • หากต้องการดมกลิ่นหอม ควรรู้ว่า พันธุ์ไม้ในวงศ์ ANNONACEAE หลายชนิดจะหอม ตอนช่วงที่ดอกใกล้จะร่วงโรย (ช่วงที่ดอกมีสีเหลืองอมส้ม) ช่วงที่ดอกออกใหม่ๆ ไม่ส่งกลิ่นหอม

ประโยชน์และสรรพคุณของข้าวหลามดง

ข้าวหลามดง

ประโยชน์: ปลูกเป็นไม้ประดับ ตามบ้านเรือน หรือทางเดินข้างถนน มีกลิ่นหอม
สรรพคุณ: เนื้อไม้และราก ต้มน้ำดื่มบำรุงกำลัง, ยาเพิ่มน้ำนมให้หญิงหลังคลอด, บำรุงน้ำนม, ยาแก้ซางเด็ก

สรุป ข้าวหลามดง พรรณไม้ดอกหอมน่าปลูก

สรุป ข้าวหลามดง พรรณไม้ดอกหอมน่าปลูก เป็นไม้ประดับตามบ้านเรือน มีกลิ่นหอม ตอนช่วงที่ดอกใกล้จะร่วงโรย เป็นพรรณไม้ที่อาจจะต้องดูแลเป็นพิเศษสักหน่อย ราคาค่อนข้างแพง แต่ดูแลไม่ยากเมื่อเติบโตแล้ว จะค่อนข้างทนทานต่อสภาพอากาศ ยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคอีกด้วย

อ้างอิง

[1] clgc. (2024). ข้าวหลามดง. Retrieved from clgc

[2] baanlaesuan. (2024). ข้าวหลามดง. Retrieved from baanlaesuan

[3] samunpri. (2024). ข้าวหลามดง. Retrieved from samunpri