ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

กระเทียมเถา พรรณไม้ดอกสวยสารพัดประโยชน์

กระเทียมเถา

กระเทียมเถา เป็นพรรณไม้ ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น เรื่องของสีสันที่สะดุดตา สวยงามจนต้องหยุดเหลียวมอง นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับในรูปแบบ ไม้กระถาง หรือไม้เลื้อยตามซุ้มประตู หรือบริเวณรั้วบ้าน เนื่องจากมีช่อดอกเป็นพวง สามารถนำมารับประทานได้ มีประโยชน์หลายอย่าง มีอะไรบ้างนั้นลองมาดูกันเลย

แนะนำข้อมูล

ชื่อ : กระเทียมเถา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mansoa alliacea (Lam.) A.H. Gentry
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ : Pachyptera hymenaea (DC.) A. Gentry Mansoa hymenaea (Lam.) A. Gentry Pseudocalymma hymeneae (A.P. de Candole) Sanwish
วงศ์ : BIGNONIACEAE
ถิ่นกำเนิด : ตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ เช่น ในบราซิล ซุรีนัม โบลิเวีย เป็นต้น ต่อมาจึงได้มีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังเขตร้อนต่างๆ ทั่วโลก

ที่มา : กระเทียมเถา [1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นกระเทียมเถา

กระเทียมเถา จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย หรือไม้เถาเนื้อแข็งโดยลำต้น หรือเถาสามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 10 เมตร กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยมสีเขียว กิ่งแก่กลมสีเทาอมน้ำตาล มีช่องอากาศกระจายทั่วไปมีมือจับที่ปลายกิ่ง

  • ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงกันข้าม ใบย่อย 1 คู่ เรียงตรงกันข้าม บริเวณข้อเถา มีลักษณะเป็นรูปรี หรือ รูปไข่ โคนและปลายใบแหลมขอบใบเรียบ และเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบบาง แต่แข็งกรอบ ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีอ่อนกว่า เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นคล้ายกระเทียม
  • ดอก : ออกเป็นช่อ บริเวณง่ามใบ ซึ่งใน 1 ช่อ จะมีดอกย่อย 10 – 20 ดอก และเมื่อดอกบานเต็มที่พร้อมกันช่อดอกดูแน่นเป็นพวง ดอกมีสีม่วง หรือ ชมพูอมม่วง แล้วจะซีดลงจนเกือบเป็นสีขาว หรือ ชมพูอ่อน กลีบดอกเป็นรูปกรวยมีอยู่ 5 กลีบ ปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนด้านบนมีกลีบใหญ่ เป็นแผ่นกลม 2 กลม ส่วนกลีบล่าง มีกลีบย่น ขนาดเล็กกว่าเล็กน้อยจำนวน 3 กลีบ มีก้านดอกยาว 0.8 – 1.2 เซนติเมตร และมีกลีบเลี้ยงยาว 4 – 5 มิลลิเมตร ติดกันคล้ายรูประฆังขอบกลีบด้านบนมนเป็นคลื่นเล็กน้อย
  • ผล : ออกเป็นฝัก ลักษณะเป็นฝักแบนแคบ ปลายแหลมรูปขอบขนาน ตามผนังฝักมีเส้นเป็นแนวยาวจากปลายไปหาโคนเมื่อฝักแก่จะแตกตามแนวนี้ ด้านในมีเมล็ด ลักษณะแบนและมีจำนวนมาก โดยด้านข้างของเมล็ด มีด้านข้างมีปีกบางใสทั้งสองด้าน

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด การปักชำ และการตอนกิ่ง
วิธีที่เป็นที่นิยม คือ การเพาะเมล็ด
-การตอนกิ่ง หากจะให้ติดดี จะต้องใช้ฮอร์โมนช่วย
-การปักชำกิ่ง ที่ใช้ต้องเป็นกิ่งที่ไม่อ่อน หรือ แก่เกินไป และต้องเด็ดใบออกทิ้งให้หมด ก่อนนำไปปักชำในที่ร่มรำไร
กระเทียมเถา สามารถเจริญเติบโตได้ดี ในสภาพแล้ง และที่มีแสงแดดจัด แต่ต้องมีการทำคาน หรือ ที่ยึดเกาะให้กับกระเทียมเถาด้วย เพราะว่าธรรมชาติของกระเทียมเถา จะไม่เลื้อยขึ้นต้นไม้อื่น จึงจำเป็นที่จะต้องช่วยผูกนำทาง ในช่วงแรกของการปลูก เมื่อเลื้อยได้ตามปกติจึงนำเชือกที่ผูกไว้ออก

 

การใช้ประโยชน์

พลังงาน 255 กิโลจูล (61 กิโลแคลอรี)
คาร์โบไฮเดรต 14.15 g, น้ำตาล 3.9 g, ใยอาหาร 1.8 g, ไขมัน 0.3 g, โปรตีน 1.5 g
วิตามิน
วิตามินเอ (10%)83 μg, บีตา-แคโรทีน (9%)1000 μg, ลูทีน ซีอาแซนทิน 1900 μg, ไทอามีน (บี1) (5%)0.06 มก., ไรโบเฟลวิน (บี2) (3%) 0.03 มก., ไนอาซิน (บี3) (3%)0.4 มก., กรดแพนโทเทนิก (บี5 )(3%)0.14 มก., วิตามินบี6 (18%)0.233 มก., โฟเลต (บี9) (16%)64 μg, วิตามินซี (14%)12 มก., วิตามินอี (6%)0.92 มก., วิตามินเค (45%)47 μg
แร่ธาตุ
แคลเซียม (6%)59 มก., เหล็ก (16%)2.1 มก., แมกนีเซียม (8%)28 มก., แมงกานีส (23%)0.481 มก., ฟอสฟอรัส (5%)35 มก., โพแทสเซียม (4%)180 มก.
องค์ประกอบอื่น
น้ำ 83 g

การใช้ประโยชน์

-ใช้เป็นอาหาร โดยใช้ส่วนของลำต้นเทียมปรุงเป็นอาหารได้
-ใช้ปรุงรสและแต่งกลิ่นอาหาร
-ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากถือว่าเป็น ไม้ดอกสีสันสวย เช่นเดียวกันกับต้น แวววิเชียร
คลิกเพื่ออ่าน แวววิเชียร เพิ่มเติมได้ที่นี่

สรรพคุณทางยาสมุนไพร กระเทียมเถา

กระเทียมเถา มีสรรพคุณ เป็นยาฆ่าเชื้อในลำไส้, ขับเสมหะ, ขับปัสสาวะ, บำบัดโรคไขข้ออักเสบ, โรคตับ, และใช้เป็นยาพอก, แก้ไข้หวัด, แก้ไข้หวัดใหญ่, รักษาโรครูมาติก, ใช้เป็นยาลดไข้, แก้เจ็บคอ, ใช้ขับพยาธิ, ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง, ช่วยลดไข้, แก้ไข้มาลาเรีย, แก้ปวด, แก้อักเสบ, ใช้เป็นยาชา และช่วยขับลม
ที่มา : กระเทียมเถา ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย [3]

สรุป กระเทียมเถา ไม้ดอกสีสวย เป็นสมุนไพรชั้นดี

กระเทียมเถา

สรุป กระเทียมเถา เป็นไม้ดอกสีสันสวย ที่มีประโยชน์มากมาย สำหรับการใช้ กระเทียมเถาเป็นสมุนไพร นั้นควรจะต้องใช้อย่างระมัดระวัง เช่นเดียวกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสม ที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ การใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับ เด็ก สตรีมีครรภ์ ไม่ควรใช้เพราะว่ายังไม่มีข้อมูล ด้านความปลอดภัยรับรอง

อ้างอิง

[1] wikipedia. (November 20, 2023). กระเทียมเถา. Retrieved from wikipedia

[3] disthai. (2017-2024). กระเทียมเถา ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย. Retrieved from disthai

 

disthai. (2017-2024). กระเทียมเถา ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย. Retrieved from disthai