ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

กรรณิการ์ พันธุ์ไม้กลิ่นหอมแรง มีประโยชน์มากกว่าที่คิด

กรรณิการ์

กรรณิการ์ นอกจากจะเป็นพันธุ์ไม้ที่มีกลิ่นหอมแรงแล้ว กรรณิการ์ยังเป็นสมุนไพรสามารถรักษาโรคได้อีกด้วย อีกทั้งยังนำมาใช้เป็นอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย จะมีอะไรน่าสนใจบ้างนั้น เรามาเรียนรู้เพิ่มเติมกันได้เลย ว่ามีจุดเด่นและเอกลักษณ์เป็นอย่างไร

 

แนะนำข้อมูล ต้นกรรณิการ์

ชื่อ: กรรณิการ์
ชื่อสามัญ: night-blooming jasmine, tree of sadness, tree of sorrow, hengra bubar, coral jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์: Nyctanthes arbor-tristis L.
ชื่ออื่นๆ: กณิการ์, ปาริชาติ
วงศ์: Oleaceae (มะลิ)
ถิ่นกำเนิด: ประเทศอินเดีย

ที่มา: กรรณิการ์ [1] 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ต้นกรรณิการ์

ต้นกรรณิการ์ เป็นไม้พุ่มเตี้ย รูปแบบทรงพุ่ม ค่อนข้างกลม สูงประมาณ 2 – 5 m. แต่ไม่เกิน 10 m.

  • ลำต้น: กิ่งเป็นเหลี่ยม
  • ใบ: ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปไข่ ยาว 6 – 12 cm. ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม แผ่นใบสากมีขนแข็งสีขาว
  • ดอก: ดอกออกเป็นกระจุกช่อละ 3 – 7 ดอก บนช่อแยกกระจุกแยกแขนงแบบแยกสาม มีใบประดับรอง ดอกไร้ก้าน หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 1 – 1.5 cm. สีส้มแดง กลีบดอก 4 – 8 กลีบ รูปขอบขนานแคบ ปลายกลีบกว้างแฉกเว้าลึก สีขาว มีแต้มสีส้มแดงด้านใน ดอกมีกลิ่นหอม และดอกตอนกลางคืน มีกลิ่นหอมแรงกว่าตอนกลางวัน ออกดอกตลอดปี แต่ออกมากที่สุด ในช่วงปลายฝนต้นหนาว
  • ผล: ผลแบบแคปซูล แบน และกลมแห้งแตกแยกเป็น 2 ส่วน แต่ละส่วนมี 1 เมล็ด ปลายมีติ่งสั้น

การขยายพันธุ์ และการปลูก

การขยายพันธุ์: โดยการปักชำ ใช้กับกิ่งที่มียอดอ่อน เป็นวิธีการที่เหมาะสม ออกรากได้ง่าย
วิธีที่นิยม: มักจะขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง วิธีการปลูกทำได้เหมือนพันธุ์ไม้อื่น ไม่แตกต่างกัน
การปลูก: กรรณิการ์ ชอบแสงแดด จึงควรปลูกในที่แจ้ง ปลูกในดินร่วน ระบายน้ำได้ดี [2] โดยธรรมชาติกรรณิการ์ จะเจริญเติบโตในที่ ได้รับแสงแดดประมาณครึ่งวัน หากปลูกโดยใช้แสงแดดเต็มวันก็ได้ แต่ขนาดใบและดอกจะเล็กลง สีใบจะซีด

กรรณิการ์กับวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อ

ตามตำนานเล่าว่า มีนางฟ้าองค์หนึ่งมาจุติบนโลก เป็นลูกสาวของมหาเศรษฐี ได้พบรักกับพระอาทิตย์ แต่วันหนึ่งพระอาทิตย์กลับปันใจให้หญิงอื่น เธอเสียใจจนตรอมใจตาย พ่อจึงได้เผาศพลูกสาว และเมื่อมาเก็บเถ้ากระดูก ได้มีต้นไม้ผุดขึ้นมา คือต้นกรรณิการ์ เพราะเช่นนี้จึงเป็นที่มาว่าเหตุใด ดอกกรรณิการ์จึงบานตอนกลางคืน เพราะไม่ต้องการเจอกับพระอาทิตย์นั่นเอง

คนไทยเชื่อกันว่า บ้านใดปลูกกรรณิการ์ บ้านนั้นจะมีแต่สิ่งดีๆ มีความสุข ความเจริญมาสู่ครอบครัว และยังเป็นที่พึ่งให้แก่ผู้อื่นได้ หากปลูกทางทิศ ตะวันออกหรือทางทิศใต้
ลักษณะเฉพาะ: กรรณิการ์เป็นไม้ที่มีกลิ่นหอมแรง โดยจะบานเฉพาะตอนกลางคืน และออกดอกตลอดปี [3]

สรรพคุณทางยาสมุนไพรกรรณิการ์

  • ดอก: ใช้เป็นยาขับประจำเดือน, แก้ไข้ และแก้ลมวิงเวียน
  • เปลือกต้นชั้นใน: ต้มน้ำดื่มแก้ปวดศีรษะ
  • ใบ: ใช้เป็นแก้ไข้ และใช้ขับพยาธิ
  • ใบสด: ในไทยใช้นำมาตำ แล้วคั้นเอาแต่น้ำ เป็นยาขมเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี
  • ราก: แก้ท้องผูก, บำรุงธาตุ, บำรุงกำลัง, แก้ผมหงอก และบำรุงผิวหนังให้สดชื่น
  • ต้นและราก: ต้มรับประทานแก้ไอ

ประโยชน์ของการปลูกต้นกรรณิการ์

กรรณิการ์
  • การย้อมผ้าและแต่งสีอาหาร: ก้านดอก: มีสาร nyctanthin ให้สีเหลืองอมแสด ใช้ทำขนม หรือใช้ทำสีย้อมผ้าไหมได้ ดอกที่ร่วงแล้ว เด็ดเฉพาะส่วนหลอด ตากให้แห้ง ต้มกับน้ำแล้วกรองเอากากทิ้ง ให้สีส้มใช้ย้อมผ้าไหม และเปลือกต้นชั้นใน ผสมกับปูนขาว ได้สีแดง ใช้ย้อมผ้าได้เช่นกัน
  • สรรพคุณทางยาสมุนไพร: รักษาอาการได้หลายชนิด เช่น แก้ไข้ แก้ไอ แก้ท้องผูก ขับพยาธิ เป็นยาบำรุงกำลัง เป็นต้น
  • นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ: เนื่องจากดอกมีกลิ่นหอมโชย โดยมักจะนิยมปลูกทางทิศเหนือ เช่นเดียวกันกับ มณฑา เพราะจะออกดอกมากในช่วงหน้าหนาว ซึ่งทิศทางลมจะพัดพากลิ่นหอมโชยเข้าบ้านปลูกเป็นไม้มงคลตามความเชื่อ ว่าหากปลูกแล้วบ้านนั้นจะมีแต่สิ่งดีๆ มีความสุข ความเจริญมาสู่ครอบครัว

สรุป กรรณิการ์ กลิ่นหอมโชยเมื่อยามลมหนาวพัดพามา

สรุป กรรณิการ์ ที่ดอกมีกลิ่นหอม และออกดอกได้ตลอดปี ยามเมื่อลมหนาวพัดผ่านมา การปลูกต้นกรรณิการ์ไว้ทางทิศเหนือ จึงทำให้ลมพัดกลิ่นหอมโชยเข้าบ้าน นอกจากกลิ่นที่หอมแล้วนั้นยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรต่างๆ มากมาย การปลูกเลี้ยง ดูแลก็ไม่ยาก รับรองว่าปลูกติดบ้านไว้สักต้นคงไม่ผิดหวังแน่นอน

อ้างอิง

[1] clgc. (2024). กรรณิการ์. Retrieved from clgc

[2] wikipedia. (November 21, 2024). กรรณิการ์. Retrieved from wikipedia

[3] panmai. (2024). ดอกกรรณิการ์. Retrieved from panmai