ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

กรดอัลฟาไลโปอิก ลดอนุมูลอิสระ สนับสนุนสุขภาพ

กรดอัลฟาไลโปอิก

กรดอัลฟาไลโปอิก ได้รับความสนใจในวงการสุขภาพมากขึ้น ด้วยคุณสมบัติที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีประสิทธิภาพ อัลฟาไลโปอิกเป็นสารที่ร่างกายสามารถผลิตได้เอง และยังพบในอาหารหลายชนิด ประโยชน์ของอัลฟาไลโปอิก ไม่ได้จำกัดเพียงแค่การต้านอนุมูลอิสระเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนสุขภาพในด้านอื่นๆ

กรดอัลฟาไลโปอิก หรือ ALA ความสำคัญ

กรดอัลฟาไลโปอิกไม่ใช่กรดไขมันโอเมก้า-3 แม้ว่าชื่ออาจคล้ายกัน ซึ่งทำให้หลายคนสับสน โดยกรดอัลฟาไลโปอิกนี้ มีคุณสมบัติพิเศษมากมาย และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง ช่วยปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระ ที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่นความเครียด สารอาหารที่ไม่เพียงพอ

อนุมูลอิสระเหล่านี้ สามารถทำลาย DNA เยื่อหุ้มเซลล์ และ Mitochondria ซึ่งกรดอัลฟาไลโปอิก มีความสามารถ ในการช่วยปกป้อง และเสริมสร้างเซลล์ ให้แข็งแรงขึ้น

กรดอัลฟาไลโปอิก พบในอาหาร และร่างกายผลิตเอง

กรดอัลฟาไลโปอิก

อัลฟาไลโปอิกเป็นโมเลกุล ที่ร่างกายผลิตขึ้นได้เอง และพบในอาหารบางชนิดเช่น ตับ ไต หัวใจ ผักโขม บรอกโคลี มันฝรั่ง แครอท กะหล่ำดาว มะเขือเทศ และยีสต์ ซึ่งมักใช้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีประสิทธิภาพสูง โดยเฉพาะเมื่อพบภาวะความเครียด Oxidation ที่สูงในการตรวจสุขภาพ แบบเฉพาะทาง

หากตัดสินใจใช้กรดอัลฟาไลโปอิก ในรูปแบบอาหารเสริม ควรเลือกใช้ชนิดที่มีการดูดซึมได้ดี และรับประทานตอนท้องว่าง นอกจากนี้ ควรเน้นการได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพเป็นหลัก

กรดอัลฟาไลโปอิก ประโยชน์หลักๆของ Alpha-Lipoic

  • ช่วยปรับสมดุลกลูโคส และอินซูลิน เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน หรือเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และปรับสมดุลกลูโคส ซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้ที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งพบในประมาณ 60-70% ของประชากร
  • ช่วยเพิ่มระดับสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย กระตุ้นการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในร่างกาย เช่น กลูตาไธโอน (Glutathione) ซึ่งช่วยปกป้อง Mitochondria และไขมันในร่างกาย จากการถูกทำลาย
  • อาจลดความเสี่ยง ของโรคมะเร็งบางชนิด อัลฟาไลโปอิกสามารถช่วยป้องกัน และลดการพัฒนาของเซลล์มะเร็งได้
  • ช่วยบรรเทาอาการของภาวะปลายประสาทอัตโนมัติ ภาวะนี้เป็นภาวะที่มักพบในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบการย่อยอาหาร การทำงานของหัวใจ และการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ โดยการรับประทานอัลฟาไลโปอิกในปริมาณ 600-1800 มก. อาจช่วยบรรเทาอาการได้
  • ปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์ และไขมันในร่างกาย กรดนี้ช่วยปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์ จากความเสียหาย ทำให้สุขภาพโดยรวมมั่นคงมากขึ้น
  • บรรเทาภาวะอักเสบ และภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะโรคจอตาเสื่อม ในผู้ป่วยเบาหวาน (Diabetic Retinopathy) ที่อาจทำลายเรตินาของตา และอวัยวะอื่นๆ เช่น ไต หัวใจ และสมอง

ที่มา: The 8 Benefits of Alpha-Lipoic Acid [1]

 

กรดอัลฟาไลโปอิก ลดปวดเส้นประสาท ผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวาน ที่มักมีปัญหาเส้นประสาท จากการสะสมของออกซิแดนท์ในร่างกาย การใช้กรดอัลฟาไลโปอิก อาจช่วยลดความเสียหาย ต่อเส้นประสาท และความเครียดจากอนุมูลอิสระได้

งานวิจัยแบบสุ่มในปี 2006 ที่ศึกษาในผู้ป่วยเบาหวาน 181 ราย พบว่า การรับประทานกรดอัลฟาไลโปอิก ในปริมาณ 600 มก. ต่อวัน ช่วยลดอาการปวดเส้นประสาท ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความเสี่ยงน้อย เมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับ [2]

กรดอัลฟา ไลโปอิก ทานขณะท้องว่าง ปริมาณแนะนำ

หากรับประทานอัลฟาไลโปอิก ในรูปแบบอาหารเสริม ควรรับประทานขณะท้องว่าง เนื่องจากการทานพร้อมอาหาร อาจลดการดูดซึมได้ โดยทั่วไป ปริมาณที่แนะนำ ในการรับประทานคือสูงสุด 2 กรัมต่อวัน

สามารถแบ่งรับประทานอัลฟาไลโปอิกเป็นช่วงๆ และการรับอัลฟาไลโปอิก ผ่านการฉีดเข้าทางหลอดเลือด ในบางกรณี อาจใช้ปริมาณสูงถึง 6000 มิลลิกรัมในระยะเวลา 3 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ ด้านสุขภาพก่อนเริ่มใช้อัลฟาไลโปอิก [3]

กรดอัลฟา ไลโปอิก ทานร่วมกับอาหารเสริมอะไรดี

อัลฟาไลโปอิก สามารถทานร่วมกับอาหารเสริมอื่นๆเช่น โอเมก้า3 มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมอง และระบบประสาท หรือทานร่วมกับ วิตามินบีคอมเพล็กซ์ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานของระบบประสาทได้ดีขึ้น

สรุป กรดอัลฟาไลโปอิก ลดภาวะความเครียด Oxidation

อัลฟาไลโปอิกเป็นสารสำคัญ ที่มีบทบาทหลายด้าน ทั้งในฐานะสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยลดภาวะความเครียดออกซิเดชัน ไปจนถึงการสนับสนุนการทำงานของระบบประสาท และการควบคุมระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด การใช้อัลฟาไลโปอิกอย่างเหมาะสม มีผลดีต่อสุขภาพโดยรวม

อ้างอิง

[1] youtube. (July 18, 2020). Dr. Eric Berg DC. Retrieved from youtube1

[2] youtube. (August 12, 2023). Dr Brad Stanfield. Retrieved from youtube2

[3] youtube. (August 07, 2023). Jessica Norton ND. Retrieved from youtube3